กรีฑาในประเทศไทย

การเล่นกรีฑานประเทศไทยริเริ่มโดยครูฝรั่งชาวอังกฤษนำมาสอนให้นักเรียนไทยได้ฝึกเล่นกันในโรงเรียนพระตำหนักสวนกุหลาบสมัยรัชกาลที่
5 แล้วค่อยเจริญแพร่หลายขึ้นหลังปี พ.ศ.2440 เป็นต้นมาการเล่นกรีฑาเริ่มเป็นทางการขึ้นเมื่อรัชกาลที่
5 เสด็จประพาสยุโรปและเมื่อเสด็จนิวัติกลับประเทศไทย
ทางราชการโดยมอบหมายให้ กระทรวงธรรมการ ครู
นักเรียนรวมถึงประชาชนได้จัดการแข่งขันกรีฑานักเรียนและประชาชน โดยได้จัดขึ้น ณ
ท้องสนามหลวง (ทุ่งพระสุเมรุ) เป็นครั้งแรกเมื่อวันที่ 11 มกราคม พ.ศ. 2440 และตั้งแต่นั้นมาก็จัดเป็นประเพณีสืบทอดต่อกันมาโดยตลอด
ปี พ.ศ. 2476 รัฐบาลตั้งกรมพลศึกษาขึ้น
กรมพลศึกษามีนโยบายส่งเสริมการกีฬาและการกรีฑาของชาติให้เจริญก้าวหน้ายิ่งขึ้น
หลังจากตั้งกรมพลศึกษาขึ้นแล้ว
กีฬาและกรีฑาได้ก็รับการสนับสนุนจัดให้มีการแข่งขันหลายประเภท เช่น
กรีฑาระหว่างโรงเรียน กรีฑาระหว่างมหาวิทยาลัย และกรีฑาระหว่างประชาชน เป็นต้นปี พ.ศ. 2494 ได้มีการจัดตั้งสมาคมกรีฑาสมัครเล่นแห่งประเทศไทย
ในพระบรมราชูปถัมภ์ขึ้น มีหน้าที่รับผิดชอบดำเนินการแข่งขัน
กรีฑาประเภทมหาวิทยาลัยและประชาชนแทนกรมพลศึกษา
และในปีนี้เองประเทศไทยก็สมัครเข้าเป็นสมาชิกของสหพันธ์กรีฑาโลกปี พ.ศ. 2504 ได้จัดตั้งองค์การส่งเสริมกีฬาแห่งประเทศไทยขึ้น
มีหน้าที่โดยตรงในการส่งเสริมกีฬาประชาชน โดยจัดให้มีการแข่งขันกีฬาทุกๆ
ปีหมุนเวียนกันไปในแต่ละจังหวัด ในการแข่งขันกีฬาเขต (กี ฬาแห่งชาติในปัจจุบัน)
และถือว่ากรีฑาเป็นกีฬาหลักที่ต้องมีการแข่งขันทุกครั้งปี พ.ศ. 2508 พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวได้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ
รับสมาคมกรีฑาสมัครเล่นแห่งประเทศไทยเข้าอยู่ในพระบรมราชูปถัมภ์


การแข่งขันกรีฑานักเรียนขึ้นครั้งแรก
ในวันที่ 11 มกราคม พ.ศ. 2440
ณ ท้องสนามหลวง โดยกระทรวงธรรมการ (ปัจจุบันคือกระทรวงศึกษาธิการ) การแข่งขันครั้งนั้นพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 5
และสมเด็จพระศรีพัชรินทรา พระบรมราชินีนาถ
เสด็จพระราชดำเนินมาทรงเป็นประธานเปิดการแข่งขันและทอดพระเนตรการแข่งขัน
ได้เชิญพระบรมวงศานุวงศ์ ผู้แทนรัฐบาลต่างประเทศ ข้าราชการฝ่ายทหารและพลเรือน
เข้าเฝ้าทูลละอองธุลีพระบาทครั้งนั้นด้วย
ซึ่งการแข่งขันประสบความสำเร็จเป็นอย่างดี
เป็นที่สนใจของนักเรียนและประชาชนโดยทั่วไป
ต่อมาได้จัดให้มีการแข่งขันกรีฑานักเรียนเป็นประจำทุกปี
และต่อมาได้เปลี่ยนสถานที่มาแข่งขันที่สนามโรงเลี้ยงเด็ก
มีการแสดงทางการฝีมือของนักเรียนด้วย หลังจากนั้นได้ย้ายสนามไปแข่งที่โรงเรียนมัธยมราชบูรณะ
(ปัจจุบันคือโรงเรียนสวนกุหลาบวิทยาลัย)
ซึ่งในการแข่งขันได้เพิ่มกิจกรรมอย่างอื่นเข้าไปด้วย เช่น การแสดงกายบริหาร
การโหนราว การไต่บันไดโค้ง การชักเย่อ การกระโดดสูง
การวิ่งข้ามรั้ว การวิ่งเก็บของ การกระโดดไกล การวิ่งเร็วระยะทาง 2 เส้น การวิ่งรอบกระสอบ การวิ่งทนระยะทาง 10 เส้น
เป็นต้น
พ.ศ. 2484 ได้เปลี่ยนสถานที่ไปแข่งขันที่บริเวณกรีฑาสถานแห่งชาติ และมีการจัดตั้งสมาคมกรีฑาสมัครเล่นแห่งประเทศไทยขึ้น
อยู่ในความควบคุมดูแลของกรมพลศึกษา มีหน้าที่รับผิดชอบดำเนินการจัดการแข่งขันกรีฑาประเภทมหาวิทยาลัยและประชาชนแทนกรมพลศึกษา
พ.ศ. 2504 ได้จัดตั้งองค์การส่งเสริมกีฬาแห่งประเทศไทยขึ้น
มีหน้าที่รับผิดชอบเกี่ยวกับการส่งเสริมกีฬาประชาชน
โดยให้จัดมีการแข่งขันกรีฑาและกีฬาต่าง ๆ เป็นประจำทุกปี เรียกกันโดยทั่วไปว่า
กีฬาแห่งชาติ และให้ถือว่ากรีฑาเป็นกีฬาหลักที่ต้องจัดให้มีในการแข่งขันทุกครั้ง
และต่อมาได้เปลี่ยนสถานที่มาแข่งขันที่สนามโรงเลี้ยงเด็ก
มีการแสดงทางการฝีมือของนักเรียนด้วย หลังจากนั้นได้ย้ายสนามไปแข่งที่โรงเรียนมัธยมราชบูรณะ
(ปัจจุบันคือโรงเรียนสวนกุหลาบวิทยาลัย)
ซึ่งในการแข่งขันได้เพิ่มกิจกรรมอย่างอื่นเข้าไปด้วย เช่น การแสดงกายบริหาร
การโหนราว การไต่บันไดโค้ง การชักเย่อ การกระโดดสูง
การวิ่งข้ามรั้ว การวิ่งเก็บของ การกระโดดไกล การวิ่งเร็วระยะทาง 2 เส้น การวิ่งรอบกระสอบ การวิ่งทนระยะทาง 10 เส้น
เป็นต้น
พ.ศ. 2484 ได้เปลี่ยนสถานที่ไปแข่งขันที่บริเวณกรีฑาสถานแห่งชาติ และมีการจัดตั้งสมาคมกรีฑาสมัครเล่นแห่งประเทศไทยขึ้น
อยู่ในความควบคุมดูแลของกรมพลศึกษา มีหน้าที่รับผิดชอบดำเนินการจัดการแข่งขันกรีฑาประเภทมหาวิทยาลัยและประชาชนแทนกรมพลศึกษา
พ.ศ. 2504 ได้จัดตั้งองค์การส่งเสริมกีฬาแห่งประเทศไทยขึ้น
มีหน้าที่รับผิดชอบเกี่ยวกับการส่งเสริมกีฬาประชาชน
โดยให้จัดมีการแข่งขันกรีฑาและกีฬาต่าง ๆ เป็นประจำทุกปี เรียกกันโดยทั่วไปว่า
กีฬาแห่งชาติ และให้ถือว่ากรีฑาเป็นกีฬาหลักที่ต้องจัดให้มีในการแข่งขันทุกครั้ง
พ.ศ. 2528 เปลี่ยนชื่อองค์การส่งเสริมกีฬาแห่งประเทศไทย
เป็นการกีฬาแห่งประเทศไทย
นอกจากนี้ยังมีเอกชนหลายแห่งได้ให้ความสำคัญต่อกรีฑาของประเทศไทย
โดยจัดให้มีการแข่งขันกรีฑารายการต่าง ๆ ทั้งภายในประเทศและภายนอกประเทศ
โดยร่วมกับสมาคมกรีฑาแห่งประเทศไทยในพระบรมราชูปถัมภ์
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น