มารู้จักกีฬาที่วัดกันด้วยสถิติกันเถอะ
ข้อมูลเกี่ยวกับกรีฑา
วันศุกร์ที่ 14 ตุลาคม พ.ศ. 2559
ประวัติ ความเป็นมาของกีฬากรีฑา
กรีฑาจัดเป็นกีฬาที่เก่าแก่ที่สุด และเกิดขึ้นมาพร้อมกับมนุษย์ ในสมัยโบราณมนุษย์ยังไม่รู้จักการทำมาหากินเป็นหลักแหล่ง ไม่รู้จักสร้างที่อยู่อาศัยหรือเครื่องนุ่งห่ม จึงต้องต่อสู้กับภัยธรรมชาติและสัตว์ป่านานาชนิด มนุษย์พวกนี้จึงเป็นต้นกำเนิดของกีฬา เพราะการที่มนุษย์ออกไปหาอาหารมาเลี้ยงชีพ บางครั้งต้องวิ่งหนีสัตว์ร้ายอย่างรวดเร็ว การวิ่งเร็วของคนถ้าเทียบกับปัจจุบันก็เป็นการวิ่งระยะสั้น หากการวิ่งหนีบางครั้งต้องข้ามกิ่งไม้ ต้นไม้ หรือก้อนหิน ปัจจุบันก็กลายมาเป็นวิ่งข้ามรั้วและวิ่งกระโดดสูง
ตามประวัติของกรีฑา เชื่อกันว่าชาวกรีกสมัยโบราณเป็นผู้ริเริ่มการแข่งขันกีฬาและกรีฑาขึ้น ในราว776 ปี ก่อนคริสตกาล โดยมีจุดประสงค์ที่จะเตรียมพลเมืองของกรีกให้มีสุขภาพสมบูรณ์แข็งแรงทั้งร่างกายและจิตใจ พร้อมที่จะรับใช้ประเทศชาติในการป้องกันประเทศได้อย่างเต็มที่ อีกเหตุผลหนึ่งคือ ชาวกรีกในสมัยนั้นนับถือเทพเจ้าหลายองค์ ซึ่งเทพเจ้าทั้งหลายเป็นผู้บันดาลความสุขหรือความทุกข์ให้แก่พวกเขา ดังนั้นชาวกรีกจึงพยายามเอาใจเทพเจ้า ด้วยการทำพิธีบวงสรวงหรือทำพิธีกรรมต่างๆ เมื่อเสร็จการบวงสรวงตามพิธีทางศาสนาแล้วจะต้องมีการเล่นกีฬาถวาย ณ ที่ลานเชิงเขาโอลิมปัส แคว้นอีลิส เพื่อเป็นการเฉลิมฉลองพระเกียรติของเทพเจ้าเหล่านั้น
การเล่นกีฬาที่บันทึกเป็นประวัติศาสตร์สืบทอดกันมาก็คือ การเล่นกีฬา 5 ชนิด ได้แก่ การวิ่งแข่ง การกระโดด มวยปล้ำ พุ่งแหลน และขว้างจักร โดยผู้เล่นแต่ละคนต้องเล่นกีฬา 5 ชนิดนี้ จะเห็นได้ว่านอกจากมวยปล้ำแล้วกีฬาอีก 4 ชนิด ล้วนแต่เป็นกรีฑาทั้งสิ้น การเล่นกีฬาดังกล่าวได้ดำเนินมาเป็นเวลาถึง 1,200 ปี กรีกก็เสื่อมอำนาจลงและตกอยู่ใต้อำนาจของโรมัน การกีฬาของกรีกก็เสื่อมลงด้วยตามลำดับ จนกระทั่งปี ค.ศ. 393 จักรพรรดิ์ธีโอดอซีอุส แห่งโรมัน ได้มีคำสั่งให้ยกเลิกการเล่นนั้น เพราะการแข่งขันในตอนปลายก่อนยกเลิกมุ่งหวังสินจ้างรางวัลและเป็นการพนัน มากกว่าการเล่นกีฬาเพื่อสุขภาพ
หลักจากที่โอลิมปิกสมัยโบราณยุติไป 15 ศตวรรษ ก็ได้มีบุคคลสำคัญผู้หนึ่ง คือ บารอน เปียเดอร์คู แบร์แตง ซึ่งเป็นชาวผรั่งเศส ได้ชักชวนบุคคลสำคัญของประเทศต่างๆ ให้เข้าร่วมตกลงเปิดการแข่งขันโอลิมปิกปัจจุบันขึ้นใหม่ โดยจัดให้มีการแข่งขัน 4 ปี ต่อ 1 ครั้ง ในข้อตกลงให้บรรจุการเล่นกรีฑาเป็นกีฬาหลักของการแข่งขัน เพื่อเป็นเกียรติและเป็นอนุสรณ์ชนชาติกรีกที่เป็นผู้ริเริ่มจึงลงมติเห็นชอบพร้อมกันให้ประเทศกรีกจัดการแข่งขันกีฬาโอลิมปิกเป็นประเทศแรก ในปี ค.ศ.1896 พ.ศ.2439 ณ กรุงเอเธนส์
กรีฑาในประเทศไทย
การเล่นกรีฑานประเทศไทยริเริ่มโดยครูฝรั่งชาวอังกฤษนำมาสอนให้นักเรียนไทยได้ฝึกเล่นกันในโรงเรียนพระตำหนักสวนกุหลาบสมัยรัชกาลที่
5 แล้วค่อยเจริญแพร่หลายขึ้นหลังปี พ.ศ.2440 เป็นต้นมาการเล่นกรีฑาเริ่มเป็นทางการขึ้นเมื่อรัชกาลที่
5 เสด็จประพาสยุโรปและเมื่อเสด็จนิวัติกลับประเทศไทย
ทางราชการโดยมอบหมายให้ กระทรวงธรรมการ ครู
นักเรียนรวมถึงประชาชนได้จัดการแข่งขันกรีฑานักเรียนและประชาชน โดยได้จัดขึ้น ณ
ท้องสนามหลวง (ทุ่งพระสุเมรุ) เป็นครั้งแรกเมื่อวันที่ 11 มกราคม พ.ศ. 2440 และตั้งแต่นั้นมาก็จัดเป็นประเพณีสืบทอดต่อกันมาโดยตลอด
ปี พ.ศ. 2476 รัฐบาลตั้งกรมพลศึกษาขึ้น
กรมพลศึกษามีนโยบายส่งเสริมการกีฬาและการกรีฑาของชาติให้เจริญก้าวหน้ายิ่งขึ้น
หลังจากตั้งกรมพลศึกษาขึ้นแล้ว
กีฬาและกรีฑาได้ก็รับการสนับสนุนจัดให้มีการแข่งขันหลายประเภท เช่น
กรีฑาระหว่างโรงเรียน กรีฑาระหว่างมหาวิทยาลัย และกรีฑาระหว่างประชาชน เป็นต้นปี พ.ศ. 2494 ได้มีการจัดตั้งสมาคมกรีฑาสมัครเล่นแห่งประเทศไทย
ในพระบรมราชูปถัมภ์ขึ้น มีหน้าที่รับผิดชอบดำเนินการแข่งขัน
กรีฑาประเภทมหาวิทยาลัยและประชาชนแทนกรมพลศึกษา
และในปีนี้เองประเทศไทยก็สมัครเข้าเป็นสมาชิกของสหพันธ์กรีฑาโลกปี พ.ศ. 2504 ได้จัดตั้งองค์การส่งเสริมกีฬาแห่งประเทศไทยขึ้น
มีหน้าที่โดยตรงในการส่งเสริมกีฬาประชาชน โดยจัดให้มีการแข่งขันกีฬาทุกๆ
ปีหมุนเวียนกันไปในแต่ละจังหวัด ในการแข่งขันกีฬาเขต (กี ฬาแห่งชาติในปัจจุบัน)
และถือว่ากรีฑาเป็นกีฬาหลักที่ต้องมีการแข่งขันทุกครั้งปี พ.ศ. 2508 พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวได้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ
รับสมาคมกรีฑาสมัครเล่นแห่งประเทศไทยเข้าอยู่ในพระบรมราชูปถัมภ์
การแข่งขันกรีฑานักเรียนขึ้นครั้งแรก
ในวันที่ 11 มกราคม พ.ศ. 2440
ณ ท้องสนามหลวง โดยกระทรวงธรรมการ (ปัจจุบันคือกระทรวงศึกษาธิการ) การแข่งขันครั้งนั้นพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 5
และสมเด็จพระศรีพัชรินทรา พระบรมราชินีนาถ
เสด็จพระราชดำเนินมาทรงเป็นประธานเปิดการแข่งขันและทอดพระเนตรการแข่งขัน
ได้เชิญพระบรมวงศานุวงศ์ ผู้แทนรัฐบาลต่างประเทศ ข้าราชการฝ่ายทหารและพลเรือน
เข้าเฝ้าทูลละอองธุลีพระบาทครั้งนั้นด้วย
ซึ่งการแข่งขันประสบความสำเร็จเป็นอย่างดี
เป็นที่สนใจของนักเรียนและประชาชนโดยทั่วไป
ต่อมาได้จัดให้มีการแข่งขันกรีฑานักเรียนเป็นประจำทุกปี
และต่อมาได้เปลี่ยนสถานที่มาแข่งขันที่สนามโรงเลี้ยงเด็ก
มีการแสดงทางการฝีมือของนักเรียนด้วย หลังจากนั้นได้ย้ายสนามไปแข่งที่โรงเรียนมัธยมราชบูรณะ
(ปัจจุบันคือโรงเรียนสวนกุหลาบวิทยาลัย)
ซึ่งในการแข่งขันได้เพิ่มกิจกรรมอย่างอื่นเข้าไปด้วย เช่น การแสดงกายบริหาร
การโหนราว การไต่บันไดโค้ง การชักเย่อ การกระโดดสูง
การวิ่งข้ามรั้ว การวิ่งเก็บของ การกระโดดไกล การวิ่งเร็วระยะทาง 2 เส้น การวิ่งรอบกระสอบ การวิ่งทนระยะทาง 10 เส้น
เป็นต้น
พ.ศ. 2484 ได้เปลี่ยนสถานที่ไปแข่งขันที่บริเวณกรีฑาสถานแห่งชาติ และมีการจัดตั้งสมาคมกรีฑาสมัครเล่นแห่งประเทศไทยขึ้น
อยู่ในความควบคุมดูแลของกรมพลศึกษา มีหน้าที่รับผิดชอบดำเนินการจัดการแข่งขันกรีฑาประเภทมหาวิทยาลัยและประชาชนแทนกรมพลศึกษา
พ.ศ. 2504 ได้จัดตั้งองค์การส่งเสริมกีฬาแห่งประเทศไทยขึ้น
มีหน้าที่รับผิดชอบเกี่ยวกับการส่งเสริมกีฬาประชาชน
โดยให้จัดมีการแข่งขันกรีฑาและกีฬาต่าง ๆ เป็นประจำทุกปี เรียกกันโดยทั่วไปว่า
กีฬาแห่งชาติ และให้ถือว่ากรีฑาเป็นกีฬาหลักที่ต้องจัดให้มีในการแข่งขันทุกครั้ง
และต่อมาได้เปลี่ยนสถานที่มาแข่งขันที่สนามโรงเลี้ยงเด็ก มีการแสดงทางการฝีมือของนักเรียนด้วย หลังจากนั้นได้ย้ายสนามไปแข่งที่โรงเรียนมัธยมราชบูรณะ (ปัจจุบันคือโรงเรียนสวนกุหลาบวิทยาลัย) ซึ่งในการแข่งขันได้เพิ่มกิจกรรมอย่างอื่นเข้าไปด้วย เช่น การแสดงกายบริหาร การโหนราว การไต่บันไดโค้ง การชักเย่อ การกระโดดสูง การวิ่งข้ามรั้ว การวิ่งเก็บของ การกระโดดไกล การวิ่งเร็วระยะทาง 2 เส้น การวิ่งรอบกระสอบ การวิ่งทนระยะทาง 10 เส้น เป็นต้น พ.ศ. 2484 ได้เปลี่ยนสถานที่ไปแข่งขันที่บริเวณกรีฑาสถานแห่งชาติ และมีการจัดตั้งสมาคมกรีฑาสมัครเล่นแห่งประเทศไทยขึ้น อยู่ในความควบคุมดูแลของกรมพลศึกษา มีหน้าที่รับผิดชอบดำเนินการจัดการแข่งขันกรีฑาประเภทมหาวิทยาลัยและประชาชนแทนกรมพลศึกษา พ.ศ. 2504 ได้จัดตั้งองค์การส่งเสริมกีฬาแห่งประเทศไทยขึ้น มีหน้าที่รับผิดชอบเกี่ยวกับการส่งเสริมกีฬาประชาชน โดยให้จัดมีการแข่งขันกรีฑาและกีฬาต่าง ๆ เป็นประจำทุกปี เรียกกันโดยทั่วไปว่า กีฬาแห่งชาติ และให้ถือว่ากรีฑาเป็นกีฬาหลักที่ต้องจัดให้มีในการแข่งขันทุกครั้ง พ.ศ. 2528 เปลี่ยนชื่อองค์การส่งเสริมกีฬาแห่งประเทศไทย เป็นการกีฬาแห่งประเทศไทย นอกจากนี้ยังมีเอกชนหลายแห่งได้ให้ความสำคัญต่อกรีฑาของประเทศไทย โดยจัดให้มีการแข่งขันกรีฑารายการต่าง ๆ ทั้งภายในประเทศและภายนอกประเทศ โดยร่วมกับสมาคมกรีฑาแห่งประเทศไทยในพระบรมราชูปถัมภ์
ประเภทของกรีฑา
1.กรีฑาประเภทลู (Track Events)
กรีฑาประเภทลู่ คือกรีฑาประเภทที่ต้องแข่งขันกันบนทางวิ่งหรือที่เรียกว่า"ลู่" ใช้การวิ่งเป็นสำคัญ ตัดสินกันด้วยความเร็วและเวลา แบ่งออกเป็น
วิ่งระยะสั้น
นักกรีฑาต้องวิ่งในช่องวิ่งของตัวเองตลอดระยะทาง มีระยะทางไม่เกิน400เมตร ได้แก่
1.วิ่ง100เมตร ชาย/หญิง
2.วิ่ง200เมตร ชาย/หญิง
3.วิ่ง400 ชาย/หญิง
มีระยะทางแข่งขันเกิน400เมตร แต่ไม่เกิน1,500เมตร ได้แก่
1.วิ่ง800เมตร ชาย/หญิง
2.วิ่ง1,500เมตร ชาย/หญิง
วิ่งระยะกลาง
มีระยะทางแข่งขันเกิน400เมตร แต่ไม่เกิน1,500เมตร ได้แก่
1.วิ่ง800เมตร ชาย/หญิง
2.วิ่ง1,500เมตร ชาย/หญิง
วิ่งระยะไกล
มีระยะทางแข่งขันเกิน1500เมตร ได้แก่
1.วิ่ง3,000เมตร หญิง
2.วิ่ง5,000เมตร ชาย
3.วิ่ง10,000เมตร ชาย
วิ่งข้ามสิ่งกีดขวาง ได้แก่
1.วิ่งข้ามรั้ว100เมตร หญิง
2.วิ่งข้ามรั้ว110เมตร ชาย
3.วิ่งข้ามรั้ว400เมตร ชาย/หญิง
4.วิ่งวิบาก3,000เมตร
วิ่งผลัด(Relay) ได้แก่
1.วิ่งผลัด4*100เมตร ชาย/หญิง
2.วิ่งผลัด4*400เมตร ชาย/หญิง
2.กรีฑาประเภทลาน (Field Events)
กรีฑาประเภทลาน คือกรีฑาประเภทที่ต้องประลองกันบนลานกว้างๆ หรือพื้นสนามที่ว่าง จะตัดสินผลการแข่งขันกันด้วยความไกลหรือความสูง แบ่งออกเป็น
1.ประเภทกระโดดเพื่อความไกล ได้แก่
1.1กระโดดไกล(Long Jump)ชายและหญิง
1.2เขย่งก้าวกระโดด (Triple Jump)ชายและหญิง
2.ประเภทกระโดดเพื่อความสูง ได้แก่
2.1กระโดดสูง (High Jump)ชายและหญิง
2.2กระโดดค้ำ (Pole Vault)ชายและหญิง
3.ประเภททุ่ม พุ่ง ขว้าง (Throwing)ได้แก่
3.1ทุ่มน้ำหนัก (Shot Put)ชายและหญิงกติกากรีฑา
การแข่งขันวิ่งผลัด
1. เขตรับส่งไม้คทามีระยะทาง20เมตร โดยถือไม้คทาเป็นเกณฑ์ไม่เกี่ยวกับขา แขน ลำตัวของนักกีฬา
2. การแข่งขันวิ่งผลัด4×200เมตร นักกีฬาคนที่1และ2 จะต้องวิ่งช่องวิ่งของตนเองเท่านั้น คนที่3จะวิ่งในช่องวิ่งของตนเองจนกระทั่งถึงเส้นตัด(เส้นโค้งแรกประมาณ120เมตร)
3. การแข่งขันวิ่งผลัด4×400เมตร คนที่1วิ่งในช่องวิ่งของตนเองเท่านั้น คนที่2วิ่งในช่องวิ่งของตนเองจนระทั่งถึงเส้นตัด ซึ่งอยู่ในแนวเส้นชัย คนที่3 และ4 จะยืนคอยรับในเขตรับระยะรวมเท่านั้นเมื่อนักกีฬาทีมใดวิ่งมาถึงจุด200เมตร ก่อนทีมนั้นจะสามารถยืนคอยรับคทาจากด้านในของลู่วิ่งเรียงตามลำดับออกมา
4. ถือไม้คทาด้วยมือตลอดการแข่งขัน หลังส่งไม้คทาแล้วควรอยู่ในช่องวิ่งของตนเองหรือภายในเขตรับส่งจนกว่าทางวิ่งจะไม่มีนักกีฬา
5. สามารถเปลี่ยนนักกีฬาได้2คนจะต้องมีรายชื่อในการแข่งขันครั้งนั้น
6. กรณีการแข่งขันวิ่งผลัด 4×100เมตร 4×400เมตร ถ้ามีทีมแข่งขันไม่เกิน5ทีม ให้ไม้แรกวิ่งโค้งเดียวแล้วตัดเข้าช่องในได้
การแข่งขันวิ่งข้ามรั้ว
นักกีฬาจะต้องวิ่งข้ามรั้วทั้งหมด10รั้ว ตลอดระยะทางการแข่งขันสิ่งต้องห้ามคือ วิ่งข้ามรั้วเพียงขาข้างเดียว และห้ามใช้มือผลักดันรั้วหรือใช้ขาเจตนาถีบรั้วให้ล้ม
การแข่งขันประเภทลาน
1. การแข่งขันประเภทกระโดดไกล–กระโดดสูงได้แก่ เขย่งก้าวกระโดด,กระโดดสูง,กระโดดค้ำถ่อ
2. การแข่งขันประเภททุ่ม พุ่ง ขว้างได้แก่ ทุ่มน้ำหนัก,ขว้างจักร,ขว้างค้อน,พุ่งแหลน
กติกาการแข่งขันกระโดดไกล
การแข่งขันนักกีฬากระโดดในขั้นที่ดีที่สุดของแต่ละคนจะถือเป็นสถิติ รวมทั้งตัดสินเสมอกันของอันดับที่1 ด้วย นักกีฬากระโดดลงในบ่อทรายแล้วต้องออกไปข้างหน้าหรือด้านข้างเท่านั้น
กติกาการแข่งขันเขย่งก้าวกระโดดประกอบด้วยเขย่ง การก้าว และการกระโดด การเขย่งจะต้องใช้เท้าเดียวกับที่เหยียบกระดานลงสู่พื้น
กติกาการกระโดดสูงจะต้องกระโดดด้วยเท้าข้างเดียว สามารถกระโดดได้ไม่เกิน 3 ครั้ง จะหมดสิทธิ์ในการแข่งขันความสูงต่อไป นักกีฬาที่ชนะเลิศสามารถเลือกความสูงได้ตามต้องการ
กติกาการแข่งกระโดดค้ำถ่อหากกระโดดไม่ผ่าน 3 ครั้งถือว่าหมดสิทธิ์ ห้ามใช้ผ้ายางพันมือหรือนิ้วมือ ยกเว้นบาดเจ็บการแข่งขันในขั้นที่ดีที่สุดถือว่าเป็นสถิติ
กติกาการแข่งขันทุ่มน้ำหนักนักกีฬาเข้าแข่งขันมากกว่า
8 คน การแข่งขันคนละ 3 ครั้ง
ผู้ทำสถิติดีที่สุดทำการแข่งขันรอบสุดท้ายถ้าไม่เกิน 8 คน
คนละ 6 ครั้งทำการฝึกซ้อมได้ไม่เกิน 2 ครั้งต้องทุ่มภายในบริเวณวงกลมลูกน้ำหนักต้องทุ่มออกไปจากไหล่ด้วยมือข้างเดียว
โดยลูกน้ำหนักต้องสัมผัสหรืออยู่ชิดคางและมือต้องไม่ลดต่ำกว่าไหล่เลยไปด้านหลัง
ขณะจะทุ่มลูกน้ำหนักออกไปการฟาล์ว
เมื่อเข้าไปในวงกลมเพื่อทำการทุ่มแล้วสัมผัสภายนอกวงกลมหรือขอบบนของไม้ขวางหรือขอบบนไม้ขวางหรือขอบบนของวงกลมจะต้องวางอุปกรณ์ไว้ด้านนอกหรือภายในวงกลมแล้วเดินออกด้านหลังห้ามใช้ผ้ายางพันนิ้ว
มือ 2 นิ้วหรือมากกว่าเข้าด้วยกันยกเว้นบาดเจ็บห้ามสวมถุงมือและสามารถใช้สารทามือได้สามารถคาดสายเข็มขัดหนังหรืออุปกรณ์อื่นที่จำเป็นว่าเหมาะสม
เพื่อป้องกันการบาดเจ็บของกระดูกได้ห้ามฉีดสเปรย์หรือสารบางอย่างในวงกลมหรือรองเท้าลูกน้ำหนักต้องอยู่ภายในเส้นรัศมี
และต้องไม่ออกจากวงกลมจนกว่าลูกทุ่มน้ำหนักจะตกถึงพื้น
กติกาการขว้างจักรจักรจะต้องตกภายในเส้นรัศมีห้ามออกนอกวงกลมจนกว่าจักรจะตกถึงพื้นครั้งแรกสมบูรณ์แล้วต้องไม่ฉีดสเปรย์หรือสารบางอย่างในวงกลมหรือรองเท้าห้ามใช้ผ้ายางพันนิ้ว มือ 2 นิ้วหรือมากกว่าเข้าด้วยกันยกเว้นบาดเจ็บสามารถคาดสายเข็มขัดหนังหรืออุปกรณ์อื่นที่จำเป็นว่าเหมาะสม เพื่อป้องกันการบาดเจ็บของกระดูกได้จักรที่ขว้างออกไปแล้ว ห้ามขว้างกลับมาให้ถือกลับมาที่วงกลมห้ามออกนอกวงกลมจนกว่าจักรถึงเส้น
กติกาการขว้างค้อนฝึกซ้อมได้ไม่เกิน 2ครั้งการขว้างเริ่มจากในวงกลมเมื่อเหวี่ยงสัมผัสพื้นดิน
หรือขอบของวงกลมจะไม่ถือว่าฟาล์ว
แต่ถ้าหลังจากสัมผัสพื้นดินหรือขอบเหล็กแล้วเขาหยุดการหมุนจะถือว่าฟาล์วเมื่อเข้าไปในวงกลม
ห้ามสัมผัสพื้นดินนอกหรือขอบวงกลมจะถือว่าฟาล์วถ้าเกิดหลุดหรือขาดกลางอากาศไม่ถือว่าฟาล์ว
และถ้าเสียหลักจนเกิดการฟาล์วการประลองครั้งนั้นไม่นับเช่นกันตัวค้อนต้องตกภายในรัศมีห้ามออกนอกวงกลมจนกว่าค้อนจะตกถึงพื้นอุปกรณ์ที่ขว้างไปแล้วห้ามขว้างกลับให้ถือกลับมา
กติกาการพุ่งแหลน
ต้องจับตรงที่จับ การพุ่งจะต้องพุ่งออกไปเหนือไหล่หรือเหนือแขนท่อนบน ห้ามใช้วิธีเหวี่ยงหรือขว้าง หรือมุ่งด้วยท่าพลิกแพลงอื่นๆ การที่หัวแหลนที่เป็นโลหะไม่ได้ถูกพื้นก่อนส่วนอื่นๆของแหลนถือว่าการแข่งขันไม่มีผลถ้าหากส่วนใดส่วนหนึ่งของร่างกายหรือแขนขา ถูกไม้โค้งหรือเส้นที่ลากต่อจากปลายของส่วนโค้งถือว่าการแข่งขันไม่ได้ผลหากแหลนหักในระหว่างพุ่งให้ทำการแข่งขันใหม่แหลนพุ่งแล้วห้ามพุ่งกลับ
กติกาการแข่งขันเดิน
ลักษณะการเดินที่ถูกต้อง ก่อนยกเท้าหลังจากพื้นเท้าหน้านำ ต้องสัมผัสพื้นก่อนด้วยส้นเท้าเมื่อเท้าหน้านำ สัมผัสพื้นแล้วต้องตึงชั่วขณะจนกว่าจะอยู่แนวตั้งฉากกับลำตัว
กติกาการแข่งขันประเภทรวม
ปัญจกรีฑา(ชาย)ประกอบด้วยการแข่งขัน5ประเภท โดยทำการแข่งขันวันเดียวดังนี้กระโดดไกล ,พุ่งแหลน ,วิ่ง200เมตร ,ขว้างจักร ,วิ่ง1,500เมตร
ทศกรีฑา(ชาย)ประกอบด้วยการแข่งขัน10 ประเภท โดยทำการแข่งขัน2วัน ติดต่อกันวันแรก วิ่ง100เมตร ,กระโดดไกล ,ทุ่มน้ำหนัก ,กระโดดสูง ,วิ่ง 400เมตร วันที่สอง วิ่งข้ามรั้ว
110เมตร ,ขว้างจักร ,กระโดดค้ำ ,พุ่งแหลน ,วิ่ง1,500เมตร
สัตตกรีฑา(ประเภทหญิง)ประกอบด้วยการแข่งขัน7ประเภท โดยทำการแข่งขันแข่งขัน2วันวันแรก
วิ่งข้ามรั้ว100เมตร ,กระโดดสูง ,ทุ่มน้ำหนัก ,วิ่ง200เมตร
วันที่สอง
กระโดดไกล ,พุ่งแหลน ,วิ่ง800เมตร
ผู้ชนะ คือ
ผู้ที่สามารถทำคะแนนสูงสุดในการแข่งขันถ้าไม่เข้าแข่งขันหรือไม่ทำการประลองแม้แต่ครั้งเดียวให้ถือว่าเลิกการแข่งขัน
ข้อมูลจากเว็ป benzzx.wordpress.com
สถิตินักกีฬาระดับโลก
วิ่ง100เมตรชาย
Usain Bolt (9.58วินาที)
นักวิ่งลมกรดชาวจาไมก้าทำสถิติอันสุดยอดในการวิ่ง 100เมตร ไว้ที่ 9.58วินาทีอันเป็นสถิติ World Record ที่กินเนสบุ๊คยังต้องจดบันทึกไว้เขาทำไว้ในรายการ World Championships in Berlin ที่ประเทศเยอรมัน เมื่อวันที่16 สิงหาคม 2009
วิ่ง100เมตรหญิง
Florence Griffith Joyner(10.49วินาที)
นักกรีฑาชาวอเมริกัน มีชื่อเสียงในฐานะที่เป็นสตรีที่วิ่งเร็วที่สุดในโลก โดยเป็นเจ้าของสถิติโลกและเหรียญทองประเภทวิ่ง100เมตร และ200เมตร ในกีฬาโอลิมปิดฤดูร้อน1988ที่โซล ประเทศเกาหลีใต้ สถิติของเธอยังไม่มีนักกีฬาหญิงคนใดมาทำลายได้จนถึงปัจจุบัน
ฟลอเรนซ์ จอยเนอร์ เสียชีวิตด้วยวัยเพียง38ปี แพทย์วินิจฉัยว่าเธอเสียชีวิตจากการขาดอากาศ เนื่องจากอาการขักขณะกำลังนอนหลับ
สมัครสมาชิก:
บทความ (Atom)